ในการที่จะออกแบบหน้าจอขึ้นมานั้นเราจำเป็นต้องทราบถึงหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับฟอร์ม
และคอนโทรล
เพื่อที่จะได้สามารถนำมาออกแบบฟอร์มให้เหมาะสม
:: รู้จักกับคุณสมบัติ เมดธอด
และอีเว็นต์
1. คุณสมบัติ (Properties)
ให้เรากำหนดลักษณะต่างๆ
ของฟอร์มและคอนโทรล
เราสามารถกำหนดคุณสมบัติสำหรับคอนโทรลต่างๆ
ผ่านทางหน้าต่าง Properties
หรือโดยใช้คำสั่งที่มีรูปแบบดังต่อไปนี้
MyCmd.Text = "OK"
MyCmd.Height = 1000
MyCmd.Width = 2000 |
เป็นการกำหนดค่าให้คุณสมบัติ
Text ของ MyCmd
เป็นการกำหนดค่าให้คุณสมบัติ
Height ของ MyCmd
เป็นการกำหนดค่าให้คุณสมบัติ
Width ของ MyCmd |
2. เมดธอด (Method)
เป็นการสั่งให้ฟอร์ม
และคอนโทรลทำงานตามที่เราร้องขอไป
ในการสั่งให้ปุ่มคำสั่งทำงานตามที่เราร้องขอ
จะใช้คำสั่งต่อไปนี้
Private Sub Form1_Load(ByVal
sender As Object, ByVal e As
System.EventArgs) Handles
MyBase.Load
MyCmd.Focus()
End Sub |
3. อีเว็นต์ (Events)
เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับฟอร์ม
หรือคอนโทรลที่เราสามารถใส่คำสั่งเพื่อตอบสนองได้
ในการตอบสนองต่ออีเว็นต์
ใส่คำสั่งต่อไปนี้
Private Sub
MyCmd_Click(ByVal sender As
System.Object, ByVal e As
System.EventArgs) Handles
MyCmd.Click
MyCmd.Text = "Click"
End Sub |
:: รู้จักกับ Namespaces
วิธีการอ้างอิงถึง
Namespaces
ก่อนที่จะสร้างแอพพลิเคชั่น
การอ้างอิงนี้จะอ้างอิงถึงคลาสนั้นเพียงแค่
Button เท่านั้น แทนที่จะเป็นชื่อเต็ม
คือ System.WinForms.Button
เราจะต้องใช้คำสั่ง Imports
เพื่ออ้างอิงถึง Namespaces
ที่ต้องการใช้
คำสั่ง
Imports จะทำให้ทุกๆ
คลาสที่ถูกจัดกลุ่มอยู่ใน
System.WinFoms
เป็นที่รู้จักในโปรเจ็กต์
การทำงานทุกอย่างของคลาสพื้นฐานใน
.NET Framework จะอยู่ใน namespaces
ที่เราเรียก System
ที่จะมีตัวอย่างของคลาสต่างๆ
ในตารางต่อไปนี้
ชื่อ Namespace
|
รายละเอียด
|
System.Data |
คลาส
และชนิดข้อมูลที่เกี่ยวกับการติดต่อฐานข้อมูลพื้นฐาน
|
System.Diagnostics |
คลาสที่ใช้ในการดีบักแอพพลิเคชั่น
และตรวจสอบการทำงานของโค้ด
|
System.IO |
คลาสที่ทำให้เราสามารถอ่าน
และเขียนไฟล์ได้ |
System.Math |
คลาสที่ทำให้เราสามารถคำนวณค่าต่างๆ
ทางสมการทางคณิตศาสตร์
|
System.Reflection |
คลาสที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลของ
Assembly และทำงานกับ
Metadata |
System.Security |
คลาสที่ใช้เพิ่มความสามารถทางด้าน
security
ให้กับแอพพลิเคชั่นของเรา |
|