|
|
ทรัพย์สินทางปัญญากับ Software Computer |
|
|
|
|
|
ทรัพย์สินทางปัญญา
คือ "ทรัพย์สินที่ไม่ใช่วัตถุทางกายภาพ
แต่เจ้าของมีสิทธิโดยชอบธรรม ที่จะให้, ให้เช่า,
โอนมอบอำนาจ, หรือใช้เป็นสินจำนองได้"
ทรัพย์สินทางปัญญากับ Software
Computer
ในส่วนของทรัพย์สินทางปัญญากับ Software Computer
เราจะกล่าวเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์เท่านั้น
ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1. ลิขสิทธิ์ (Copyright)
(สิทธิในการเป็นเจ้าของความคิด ที่คิดค้นได้
โดยไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียน)
2. สิทธบัตร (Patents)
(สิทธิในความเป็นเจ้าของความคิด หรือผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นได้
แต่ทว่าจะต้องไปจดทะเบียนเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของเพื่อผลทางการค้าหรืออื่นๆ
)
3. เครื่องหมายการค้า (Trade
Mark)
(เป็นตัวแสดงถึง ความเป็นผู้นำทางด้านสินค้านั้น
ซึ่งจะใช้ตัวย่อ TM กำกับบนชื่อสินค้านั้น ๆ เสมอ)
4. ความลับทางการค้า (Trade
Secrets)
(ความลับในสูตร หรือขั้นตอนในการผลิตที่เป็นเฉพาะ)
ในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญากับ Software computer
เราจัดว่าอยู่ในกลุ่มของทรัพย์สินทางปัญญาประเภทลิขสิทธิ์
โดยผู้ที่ดูแลเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทย คือ
สำนักงานสิทธิบัตร
กรมทรัพย์สินทางปัญญาสังกัดกระทรวงพาณิชย์นั้นเอง
ความเป็นมาของ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ลิขสิทธิ์ มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2521
แล้ว แต่ทว่า พ.ร.บ.
ในสมัยนั้นไม่ได้รวมความคุ้มครองเรื่อง Software Computer
เอาไว้ และได้เริ่มรวมคุ้มครองลิขสิทธิ์ Software Computer
เข้ากับ พ.ร.บ. นี้เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2538
เป็นต้นมา
ดังนั้นหาก Software Computer ใดกระทำการซ้ำ ดัดแปลง
คัดลอก ก่อนหน้าวันที่ 21 มีนาคม 2538
ก็ถือว่ากระทำผิดต่อพระราชบัญญัตินี้
การกระทำอย่างไรถือว่าผิด พ.ร.บ.
นี้
การทำซ้ำ คือ "การคัดลอกหรือทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
จากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ
ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ
โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำขึ้นใหม่
ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
การดัดแปลง คือ "ทำซ้ำโดยเปลี่ยนแปลงรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไข
เพิ่มเติม หรือจำลองงานต้นฉบับ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ
โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำขึ้นใหม่"
ข้อยกเว้นใน พ.ร.บ. นี้
1.วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
2.ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรม
3.ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงาน
โดยมีการรับรู้ถึงเจ้าของลิขสิทธิ์
4.เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชน
โดยมีการรับรู้ถึงเจ้าของลิขสิทธิ์
5.สำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควร
โดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับสิทธิ์อย่างถูกต้อง
เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย
6.ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง
หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาล
หรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย
หรือใช้รายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
7.นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
8.ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้
9.จัดทำ
สำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับอ้างอิงหรือค้นคว้าหรือประโยชน์ของสาธารณชน
ระยะเวลาคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้
บุคคลธรรมดา คุ้มครองตลอดชีวิตและอีก 50
ปีหลังจากที่เสียชีวิต
นิติบุคคล คุ้มครอง 50 ปี หรือตั้งแต่ที่เริ่มประกาศ
(โฆษณา)
โทษของการละเมิดลิขสิทธิ์
ในกรณีที่เราละเมิดลิขสิทธิ์ตาม
พ.ร.บ. นี้ มีโทษปรับระหว่าง 20,000 - 200,000 บาท
แต่ทว่าหากการละเมิดนั้นเป็นการกระทำเพื่อการค้า
ปรับระหว่าง 100,000 - 800,000 บาท โทษจำคุกตั้งแต่ 6
เดือน ถึง 4 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ
|
|
::
พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตราที่ 1-7 :: |
|
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.
2537เป็นปีที่ 49 ในรัชกาลปัจจุบัน
มาตรา 1
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.
2537"
มาตรา 2
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วัน
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.
2521
มาตรา 4
ในพระราชบัญญัตินี้
"ผู้สร้างสรรค์" หมายความว่า
ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใด
อย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
"ลิขสิทธิ์" หมายความว่า
สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้
เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น
"วรรณกรรม" หมายความว่า งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น
หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา
คำปราศรัย สุนทรพจน์ และให้หมายความรวมถึง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย
"โปรแกรมคอมพิวเตอร์" หมายความว่า คำสั่ง
ชุดคำสั่งหรือสิ่งอื่นใด ที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือเพื่อให้ได้รับผล
อย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้
ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะใด
"นาฏกรรม" หมายความว่า งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า
หรือ การแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว
และให้หมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย
"ศิลปกรรม" หมายความว่า
งานอันมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดหรือ หลายอย่างดังต่อไปนี้
(1) งานจิตรกรรม
ได้แก่งานสร้างสรรค์รูปทรงที่ประกอบด้วยเส้น แสง สี
หรือสิ่งอื่น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
ลงบนวัสดุอย่างเดียว หรือหลายอย่าง
(2) งานประติมากรรม
ได้แก่งานสร้างสรรค์รูปทรงที่เกี่ยวกับปริมาตร
ที่สัมผัสและจับต้องได้
(3) งานภาพพิมพ์
ได้แก่งานสร้างสรรค์ภาพด้วยกรรมวิธีทางการพิมพ์
และหมายความรวมถึงแม่พิมพ์หรือแบบพิมพ์ที่ใช้ในการพิมพ์ด้วย
(4) งานสถาปัตยกรรม ได้แก่งานออกแบบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง
งานออกแบบตกแต่งภายในหรือภายนอก
ตลอดจนบริเวณของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างหรือ
การสร้างสรรค์หุ่นจำลองของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง
(5) งานภาพถ่าย
ได้แก่งานสร้างสรรค์ภาพที่เกิดจากการใช้เครื่องมือ
บันทึกภาพโดยให้แสงผ่านเลนซ์ไปยังฟิล์มหรือกระจก
และล้างด้วยน้ำยาซึ่งมีสูตรเฉพาะ หรือด้วยกรรมวิธีใด ๆ
อันทำให้เกิดภาพขึ้น
หรือการบันทึกภาพโดยเครื่องมือหรือวิธีการ อย่างอื่น
(6) งานภาพประกอบ แผนที่ โครงสร้าง ภาพร่าง
หรืองานสร้างสรรค์ รูปทรงสามมิติอันเกี่ยวกับภูมิศาสตร์
ภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์
(7) งานศิลปประยุกต์ ได้แก่งานที่นำเอางานตาม (1) ถึง (6)
อย่างใด
อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น
นอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่า ของตัวงานดังกล่าวนั้น เช่น
นำไปใช้สอย นำไปตกแต่งวัสดุหรือสิ่งของอันเป็นเครื่องใช้
หรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า
ทั้งนี้ ไม่ว่างานตาม (1) ถึง (7)
จะมีคุณค่าทางศิลปะหรือไม่ และให้
หมายความรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย
"ดนตรีกรรม" หมายความว่า
งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลง
หรือขับร้องไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว
และให้หมายความรวมถึง
โน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
"โสตทัศนวัสดุ" หมายความว่า
งานอันประกอบด้วยลำดับของภาพโดยบันทึก
ลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะอย่างใด
อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก โดยใช้เครื่องมือ
ที่จำเป็นสำหรับการใช้วัสดุนั้น
และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบงานนั้นด้วย ถ้ามี
"ภาพยนตร์" หมายความว่า
โสตทัศนวัสดุอันประกอบด้วยลำดับของภาพ
ซึ่งสามารถนำออกฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์หรือสามารถบันทึกลงบนวัสดุอื่น
เพื่อนำออก ฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์
และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์นั้นด้วย ถ้ามี
"สิ่งบันทึกเสียง" หมายความว่า
งานอันประกอบด้วยลำดับของเสียงดนตรี เสียงการแสดง
หรือเสียงอื่นใด โดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะใด ๆ
อันสามารถที่จะ
นำมาเล่นซ้ำได้อีกโดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้วัสดุนั้น
แต่ทั้งนี้มิให้หมายความ
รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น
"นักแสดง" หมายความว่า ผู้แสดง นักดนตรี นักร้อง นักเต้น
นักรำ และผู้ซึ่ง แสดงท่าทาง ร้อง กล่าว พากย์
แสดงตามบทหรือในลักษณะอื่นใด
"งานแพร่เสียงแพร่ภาพ" หมายความว่า
งานที่นำออกสู่สาธารณชนโดย
การแพร่เสียงทางวิทยุกระจายเสียง
การแพร่เสียงและหรือภาพทางวิทยุโทรทัศน์หรือ
โดยวิธีอย่างอื่นอันคล้ายคลึงกัน
"ทำซ้ำ" หมายความรวมถึง คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เลียนแบบ
ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ
หรือบันทึกเสียงและภาพ จากต้นฉบับ จากสำเนา
หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้
ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับ
ในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้หมายความถึง
คัดลอกหรือทำสำเนา โปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด
ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ
โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้
ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
"ดัดแปลง" หมายความว่า ทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่
ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม
หรือจำลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่
ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(1) ในส่วนที่เกี่ยวกับวรรณกรรม ให้หมายความรวมถึง
แปลวรรณกรรม
เปลี่ยนรูปวรรณกรรมหรือรวบรวมวรรณกรรมโดยคัดเลือกและจัดลำดับใหม่
(2) ในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ให้หมายความรวมถึง ทำซ้ำ โดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุง
แก้ไขเพิ่มเติมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ
โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำขึ้นใหม่
(3) ในส่วนที่เกี่ยวกับนาฏกรรม ให้หมายความรวมถึง
เปลี่ยนงานที่มิใช่ นาฏกรรมให้เป็นนาฏกรรม
หรือเปลี่ยนนาฏกรรมให้เป็นงานที่มิใช่นาฏกรรม ทั้งนี้
ไม่ว่า ในภาษาเดิมหรือต่างภาษากัน
(4) ในส่วนที่เกี่ยวกับศิลปกรรม ให้หมายความรวมถึง
เปลี่ยนงานที่เป็น รูปสองมิติหรือสามมิติ
ให้เป็นรูปสามมิติหรือสองมิติ
หรือทำหุ่นจำลองจากงานต้นฉบับ
(5) ในส่วนที่เกี่ยวกับดนตรีกรรม ให้หมายความรวมถึง
จัดลำดับเรียบเรียง
เสียงประสานหรือเปลี่ยนคำร้องหรือทำนองใหม่
"เผยแพร่ต่อสาธารณชน" หมายความว่า ทำให้ปรากฏต่อสาธารณชน
โดยการแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลง
การทำให้ปรากฏด้วยเสียงและ หรือภาพ การก่อสร้าง การจำหน่าย
หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้จัดทำขึ้น
"การโฆษณา" หมายความว่า การนำสำเนาจำลองของงานไม่ว่าในรูป
หรือลักษณะอย่างใดที่ทำขึ้นโดยความยินยอมของผู้สร้างสรรค์ออกจำหน่าย
โดยสำเนา
จำลองนั้นมีปรากฏต่อสาธารณชนเป็นจำนวนมากพอสมควรตามสภาพของงานนั้น
แต่ทั้งนี้ไม่หมายความรวมถึง
การแสดงหรือการทำให้ปรากฏซึ่งนาฏกรรม ดนตรีกรรม
หรือภาพยนตร์ การบรรยายหรือการปาฐกถา ซึ่งวรรณกรรม
การแพร่เสียงแพร่ภาพ เกี่ยวกับงานใด
การนำศิลปกรรมออกแสดงและการก่อสร้างงานสถาปัตยกรรม
"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้
"อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา
และให้หมายความ
รวมถึงผู้ซึ่งอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญามอบหมายด้วย
"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการลิขสิทธิ์
"รัฐมนตรี" หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 5
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
กับออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา 6
งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่งานสร้างสรรค์
ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ
ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่คลุมถึงความคิด หรือขั้นตอน
กรรมวิธีหรือระบบ หรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด
หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
มาตรา 7
สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ
ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี
แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง
และหนังสือโต้ตอบ ของกระทรวง ทบวง กรม
หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4)
ที่กระทรวง ทบวง กรม
หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น
ส่วนที่ 2 การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์
มาตรา 8
ให้ผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้น
ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ยังไม่ได้มีการโฆษณางาน
ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย
หรืออยู่ในราชอาณาจักรหรือเป็นผู้มีสัญชาติหรืออยู่ในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วย
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย
ตลอดระยะเวลาหรือเป็นส่วนใหญ่ ในการสร้างสรรค์งานนั้น
(2) ในกรณีที่ได้มีการโฆษณางานแล้ว
การโฆษณางานนั้นในครั้งแรกได้
กระทำขึ้นในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครอง
ลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย
หรือในกรณีที่การโฆษณาครั้งแรกได้กระทำนอก
ราชอาณาจักรหรือในประเทศอื่นที่ไม่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์
ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย
หากได้มีการโฆษณางานดังกล่าวในราชอาณาจักรหรือ
ในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี
อยู่ด้วยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการโฆษณาครั้งแรก
หรือผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ใน (1)
ในขณะที่มีการโฆษณางานครั้งแรก
ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย
ถ้าผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล
นิติบุคคลนั้นต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
มาตรา 9
งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง
ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
ให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของผู้สร้างสรรค์
แต่นายจ้างมีสิทธินำงานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ตามที่เป็นวัตถุประสงค์แห่งการจ้าง
แรงงานนั้น
มาตรา 10
งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการรับจ้างบุคคลอื่น
ให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น
เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้างจะได้ตกลงกันไว้
เป็นอย่างอื่น
มาตรา 11
งานใดมีลักษณะเป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัตินี้โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
ให้ผู้ที่ได้ดัดแปลงนั้นมีลิขสิทธิ์ในงาน
ที่ได้ดัดแปลงตามพระราชบัญญัตินี้
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์
ที่มีอยู่ในงานของผู้สร้างสรรค์เดิมที่ถูกดัดแปลง
มาตรา 12
งานใดมีลักษณะเป็นการนำเอางานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
มารวบรวมหรือประกอบเข้ากันโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
หรือเป็นการนำเอา
ข้อมูลหรือสิ่งอื่นใดซึ่งสามารถอ่านหรือถ่ายทอดได้โดยอาศัยเครื่องกลหรืออุปกรณ์อื่นใด
มารวบรวมหรือประกอบเข้ากัน
หากผู้ที่ได้รวบรวมหรือประกอบเข้ากันได้รวบรวมหรือ
ประกอบเข้ากันซึ่งงานดังกล่าวขึ้นโดยการคัดเลือกหรือจัดลำดับในลักษณะซึ่งมิได้ลอกเลียน
งานของบุคคลอื่น
ให้ผู้ที่ได้รวบรวมหรือประกอบเข้ากันนั้นมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้รวบรวมหรือ
ประกอบเข้ากันตามพระราชบัญญัตินี้
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์
ที่มีอยู่ในงาน หรือข้อมูลหรือสิ่งอื่นใด
ของผู้สร้างสรรค์เดิมที่ถูกนำมารวบรวมหรือประกอบ เข้ากัน
มาตรา 13 ให้นำ มาตรา
8 มาตรา 9 และ มาตรา 10 มาใช้บังคับ แก่การมีลิขสิทธิ์ตาม
มาตรา 11 หรือ มาตรา 12 โดยอนุโลม
มาตรา 14 กระทรวง ทบวง กรม
หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือ
ของท้องถิ่นย่อมมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการจ้างหรือตามคำสั่งหรือ
ในความควบคุมของตน
เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร
|
|
|
|
ส่วนที่ 3
การคุ้มครองลิขสิทธิ์
มาตรา 15
ภายใต้บังคับ มาตรา 9 มาตรา 10 และ มาตรา 14
เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวดังต่อไปนี้
(1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์
โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
(4) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
(5) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (1) (2) หรือ (3)
โดยจะกำหนด เงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้
แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัด
การแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้
การพิจารณาว่าเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง (5)
จะเป็นการจำกัดการแข่งขัน โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 16
ในกรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ได้อนุญาตให้ผู้ใด
ใช้สิทธิตาม มาตรา 15 (5)
ย่อมไม่ตัดสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธินั้น
ได้ด้วย เว้นแต่ในหนังสืออนุญาตได้ระบุเป็นข้อห้ามไว้
มาตรา 17
ลิขสิทธิ์นั้นย่อมโอนให้แก่กันได้
เจ้าของลิขสิทธิ์อาจโอนลิขสิทธิ์ของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้แก่บุคคลอื่นได้
และจะโอนให้โดยมีกำหนดเวลาหรือตลอดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ก็ได้
การโอนลิขสิทธิ์ตามวรรคสองซึ่งมิใช่ทางมรดกต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
ผู้โอนและผู้รับโอน ถ้าไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ในสัญญาโอน
ให้ถือว่าเป็นการโอนมีกำหนด ระยะเวลาสิบปี
มาตรา 18
ผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้มีสิทธิที่จะแสดงว่า
ตนเป็นผู้สร้างสรรค์งานดังกล่าว
และมีสิทธิที่จะห้ามมิให้ผู้รับโอนลิขสิทธิ์หรือบุคคลอื่นใดบิดเบือน
ตัดทอน
ดัดแปลงหรือทำโดยประการอื่นใดแก่งานนั้นจนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง
หรือ เกียรติคุณของผู้สร้างสรรค์
และเมื่อผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตายทายาทของผู้สร้างสรรค์มี
สิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับตามสิทธิดังกล่าวได้ตลอดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์
ทั้งนี้ เว้นแต่
จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร
ส่วนที่ 4
อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์
มาตรา 19
ภายใต้บังคับ มาตรา 21 และ มาตรา 22 ลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัตินี้ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์
และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปี
นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
ในกรณีที่มีผู้สร้างสรรค์ร่วม
ลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวให้มีอยู่ตลอดอายุของ
ผู้สร้างสรรค์ร่วม
และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่
ความตาย
ถ้าผู้สร้างสรรค์หรือผู้สร้างสรรค์ร่วมทุกคนถึงแก่ความตายก่อนที่ได้มีการโฆษณา
งานนั้น
ให้ลิขสิทธิ์ดังกล่าวมีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล
ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์
ได้สร้างสรรค์ขึ้น
แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว
ให้ลิขสิทธิ์มี
อายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
มาตรา 20
งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดย
ผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝงหรือไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์
ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปี นับแต่ได้
สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว
ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
ในกรณีที่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ให้นำ มาตรา 19
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 21
ลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์
สิ่งบันทึกเสียง
หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพให้มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
แต่ถ้าได้ มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว
ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปี นับแต่ได้มี
การโฆษณาเป็นครั้งแรก
มาตรา 22
ลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ให้มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้สร้างสรรค์
งานนั้นขึ้น
แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว
ให้ลิขสิทธิ์มีอายุ
ยี่สิบห้าปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
มาตรา 23
ลิขสิทธิ์ในงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการจ้างหรือตามคำสั่ง
หรือในความควบคุมตาม มาตรา 14
ให้มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว
ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปี
นับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
มาตรา 24
การโฆษณางานตาม มาตรา 19 มาตรา 20 มาตรา 21 มาตรา 22 หรือ
มาตรา 23 อันเป็นการเริ่มนับอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์
หมายความถึง
การนำงานออกทำการโฆษณาโดยความยินยอมของเจ้าของลิขสิทธิ์
มาตรา 25
เมื่ออายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ครบกำหนดในปีใด
ถ้าวันครบ
กำหนดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่ตรงกับวันสิ้นปีปฏิทิน
หรือในกรณีที่ไม่อาจทราบ
วันครบกำหนดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ที่แน่นอน
ให้ลิขสิทธิ์ยังคงมีอยู่ต่อไปจนถึงวันสิ้นปี
ปฏิทินของปีนั้น
มาตรา 26
การนำงานอันมีลิขสิทธิ์ออกทำการโฆษณาภายหลังจากที่
อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์สิ้นสุดลงไม่ก่อให้เกิดลิขสิทธิ์ในงานนั้น
ๆ ขึ้นใหม่
ส่วนที่ 5 การละเมิดลิขสิทธิ์
มาตรา 27
การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
โดยไม่ได้รับอนุญาตตาม มาตรา 15 (5)
ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำ ดังต่อไปนี้
(1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
มาตรา 28
การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์
หรือสิ่งบันทึกเสียง
อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตาม
มาตรา 15 (5) ทั้งนี้ ไม่ว่าในส่วนที่เป็นเสียงและหรือภาพ
ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำ ดังต่อไปนี้
(1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว
มาตรา 29
การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานแพร่เสียง แพร่ภาพอันมี
ลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตาม มาตรา
15 (5) ให้ถือว่าเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์
ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) จัดทำโสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง
หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(2) แพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(3) จัดให้ประชาชนฟังและหรือชมงานแพร่เสียงแพร่ภาพ
โดยเรียก เก็บเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นในทางการค้า
มาตรา 30
การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมี
ลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตาม มาตรา
15 (5) ให้ถือว่าเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์
ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว
มาตรา 31
ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิด
ลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร
ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการ ละเมิดลิขสิทธิ์
ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า
ให้เช่าซื้อ หรือ เสนอให้เช่าซื้อ
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(3)
แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์
(4) นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร |
|
| |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เว็บมาสเตอร์/ผู้ดูแลเว็บไซต์/ภารโรงเว็บ : สุขี
สิงห์บรบือ (มหาแซม)
ที่อยู่/ที่ทำงาน (office)
หากต้องการมาพบผม :
ณ ไร่มหาแซม (เถียงนาน้อยกลางป่า) ต.ปลาปาก อ.ปลาปาก จ.นครพนม
48160 คลิกที่นี่เพื่อดูแผนที่
ที่ตั้ง/ที่ทำการเว็บไซต์
ที่อยู่สำหรับส่งจดหมาย/เอกสาร/ไปรษณีย์
: ตู้ ป.ณ.1 อ.ปลาปาก
จ.นครพนม 48160
เบอร์โทรศัพท์ : 089-9405715 (โทรมาเวลาทำการ
09.00-16.00 เท่านั้น
ตอนกลางคืนเป็นเวลาพักไม่รับโทรศัพท์ครับ เพราะกลางวันทำงานเต็มที่ทั้งวันแล้ว)
ส่ง sms :
086-2344415 (ส่ง sms
เบอร์นี้ตลอด 24 ช.ม.) หรือ
FAX : 042-589224 (FAX Auto 24 Hours)
E-mail :
computersam@hotmail.com
www.mahamodo.com
ประวัติผู้ดูแลเว็บ |
|
|
สงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
www.mahamodo.com ห้ามลอกเลียนไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดของเว็บไซต์นี้ ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ
นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น
ออกแบบ/ควบคุมดูแล/บริหารจัดการ
เว็บไซต์ทั้งหมด โดย
มหาแซม
ข้อมูลในเว็บไซต์เป็นลิขสิทธิ์จากโปรแกรมมหาหมอดู โดย มหาแซม
สนใจสนลงโฆษณาคลิกที่นี่
ติดต่อสอบถามที่เบอร์โทรศัพท์
08-9940-5715,
ส่ง sms 08-6234-4415, ส่ง
FAX
042-589224 (FAX Auto 24 Hours)
(กรุณาอย่าโทรศัพท์มาตอนกลางคืนนะครับผม หากต้องการติดต่อตอนกลางคืนรบกวนส่ง sms มาที่ 086-2344415 แทนการโทรศัพท์นะครับ)
ต้องขออภัยด้วยนะครับ
ที่ไม่สะดวกคุยโทรศัพท์นาน งานเยอะจริงๆ ครับ
ที่อยู่/ที่ทำงาน (office)
หากต้องการมาพบผม :
ณ ไร่มหาแซม (เถียงนาน้อยกลางป่า) เลขที่ 172 ม.2 ต.ปลาปาก อ.ปลาปาก จ.นครพนม
48160
ที่อยู่สำหรับส่งจดหมาย/เอกสาร/ไปรษณีย์
: ตู้ ป.ณ.1 อ.ปลาปาก
จ.นครพนม 48160
E-mail :
computersam@hotmail.com
©Copyright 2002-2005
www.mahamodo.com All rights reserved.
|
:::: |
|
|
|
|