|
|
|
ศาลพระภูมิ
ตามธรรมเนียมไทย บ้านทุกหลังจะต้องมีศาลพระภูมิ
หลังจากทำพิธีปลูกเรือนเสร็จ ก็จะทำพิธียกศาลพระภูมิด้วย
ทั้งนี้เพราะถือกันว่า
พระภูมิเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้านเป็นเทวาอารักษ์
ผู้คอยปกปักรักษาคนในบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข
มีความเจริญรุ่งเรือง
แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตรายทั้งหลายทั้งปวง
โดยผู้เป็นเจ้าของบ้าน
จะต้องทำการเซ่นสรวงบูชาด้วยความเคารพ
พระภูมิจึงจะให้ความคุ้มครอง
แต่หากกระทำในสิ่งตรงกันข้ามคือไม่ให้ความเคารพและเซ่นสรวงบูชา
พระภูมิก็อาจจะให้โทษ
โดยดลบันดาลให้เกิดทุกข์ภัยได้เช่นกัน
ก่อนตั้งศาลพระภูมิ
ก่อนจะตั้งศาลพระภูมิ
ต้องเชิญหมอตั้งศาลไปดูสถานที่เสียก่อน
ไม่ใช่ว่านึกจะตั้งตรงไหนก็ตั้งได้ตามอำเภอใจ หมอต้องไปดูสถานที่ว่าสะอาดหรือเปล่า
มีอะไรกีดขวางหรือเปล่า ต้องไม่ให้อยู่ใกล้ส้วมหรือห้องน้ำจนเกินไป
และอย่าหันหน้าศาลไปทางส้วมหรือห้องน้ำเด็ดขาด
ต้องให้ห่างออกมาจากตัวบ้านพอสมควรจะเป็นการดี
ถ้าบ้านหลายชั้นจะยิ่งตั้งลำบากมาก ในบริเวณสถานที่จำกัดมาก
เคหะตึกแถวหรือทาวน์เฮ้าส์
ยิ่งจะหาที่ตั้งกันลำบากมากขึ้นเพราะสถานที่แคบเกินไป
หากเป็นศาลพระภูมิหรือศาลเจ้าที่ ต้องตั้งในพื้นดิน
ห้ามขึ้นบนบ้านหรือบนตึกเป็นอันขาด
ศาลพระภูมิจะมีเสาต้นเดียว ศาลเจ้าที่มีเสา 4 ต้น
การหันหน้าศาลพระภูมิ
การหันหน้าศาลจะหันได้เพียง 3 ทิศเท่านั้นคือ
|
วันกับเดือนที่ห้ามตั้งศาล |
|
เดือน 1 (เดือนอ้าย) |
ห้ามตั้งศาล วันพฤหัสบดี
และวันเสาร์ |
|
เดือน 2 (เดือนยี่) |
ห้ามตั้งศาล วันพุธ และวันศุกร์ |
|
เดือน 3 |
ห้ามตั้งศาล วันอังคาร |
|
เดือน 4 |
ห้ามตั้งศาล วันจันทร์ |
|
เดือน 5 |
ห้ามตั้งศาล วันพฤหัสบดีและวันเสาร์ |
|
เดือน 6 |
ห้ามตั้งศาล วันพุธและวันศุกร์ |
|
เดือน 7 |
ห้ามตั้งศาล วันอังคาร |
|
เดือน 8 |
ห้ามตั้งศาล วันจันทร์ |
|
เดือน 9 |
ห้ามตั้งศาล วันพฤหัสบดีและวันเสาร์ |
|
เดือน 10 |
ห้ามตั้งศาล วันพุธและวันศุกร์ |
|
เดือน 11 |
ห้ามตั้งศาล วันอังคาร |
|
เดือน 12 |
ห้ามตั้งศาล วันจันทร์ |
|
|
|
ชื่อพี่เลี้ยงหรือคนรับใช้พระภูมิ
พระภูมิท่านมีคนรับใช้หรือพี่เลี้ยง 3 คน
การถวายเครื่องสังเวย ก็จะต้องออกชื่อพี่เลี้ยงทั้ง 3 นี้
ให้จัดการนำข้าวของ ถวายพระภูมิเป็นการส่วนตัว
เช่นเดียวกับการที่เด็กวัด
จัดอาหารเข้าไปประเคนพระฉันใดก็ฉันนั้น ชื่อพี่เลี้ยง
คนที่ 1 นายจันทร์
คนที่ 2 นายทิศ
คนที่3 นายอาจเสนถ้าจำไม่ได้จะเรียกว่า นายหลวง
นายขุน นายหมื่น ก็ได้ผลเท่ากัน
เรื่องทิศทางของพระภูมิ
หากเราจะนำสิ่งของไปถวายพระภูมิ เช่น
ดอกไม้พวงมาลัย อาหาร และน้ำ ตลอดกระทั่งเข้าไป
จุดธูปเทียนบูชา หรือปัดกวาดทำความสะอาดศาลก็ตาม
จะต้องเข้าทางทิศที่เป็นเท้า
จงอย่าเข้าทางด้านหัวเป็นอันขาด
และเรียกหรือออกชื่อให้นายทั้ง 3
ผู้เป็นพี่เลี้ยงหรือคนรับใช้ให้นำสิ่งของเหล่านี้
เข้าไปถวายพระภูมิอีกต่อหนึ่ง
ก็จะเป็นสิริมงคลท่านจะอวยพรให้มีความสมบูรณ์พูลผลค้าขายกำไรงาม
วันอาทิตย์
พระภูมินอนเอาศีรษะไปทาง ทิศบูรพา (ตะวันออก)
เอาเท้าไปทางทิศประจิม ( ทิศตะวันตก)
วันจันทร์
พระภูมินอนเอาศีรษะ ไปทางทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้)
เอาเท้าไปทางทิศพายัพ (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
วันอังคาร
พระภูมินอนเอาศีรษะ ไปทางทิศ ทักษิณ (ใต้ )
เอาเท้าไปทางทิศอุดร(เหนือ)
วันพุธ
พระภูมินอนเอาศีรษะ ไปทางทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้ )
เอาเท้าไปทางทิศ อีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
วันพฤหัสบดี พระภูมินอนเอาศีรษะ
ไปทางทิศประจิม (ตะวันตก) เอาเท้าไปทางทิศบูรพา
(ตะวันออก)
วันศุกร์
พระภูมินอนเอาศีรษะ ไปทางทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ )
เอาเท้าไปทางทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้)
วันเสาร์
พระภูมินอนเอาศีรษะ ไปทางทิศอุดร (เหนือ)
เอาเท้าไปทางทิศทักษิณ (ใต้)
|
|
คาถาขอขมาพระภูมิ
** อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ
นะโมพุทธายะ พระภุมมะเทวา ขะมามิหัง **
พระคาถานี้
เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโอภาสี
แห่งวัดกลางสวน บางมด ฝั่งธนบุรี
รวมกับการขอขมาพระภูมิแล้ว
จะเป็นการเพิ่มพลังจิตและพลังศรัทธา
ทำให้องค์พระภูมิท่านใจอ่อน เกิดมีใจเมตตา
อภัยในทุกสิ่งทุกอย่าง
ที่เราได้ก้าวก่ายหรือพลาดพลั้งกระทำในสิ่งที่ผิดลงไป
โดยจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม
เครื่องสักการบูชาพระภูมิ
การสักการบูชาพระภูมินั้น
มิได้เหมือนกันตลอดไป ย่อมที่จะหมุนเวียนเปลี่ยนไป
ตามแต่เดือนที่ได้กำหนดดังนั้น การบูชา
การจัดเครื่องสังเวยและสิ่งของที่จะต้องใช้
ให้ถูกต้องตามเจตนา
ก็ยิ่งจะเป็นการเสริมสร้างสิริมงคลให้กับตนเอง
และครอบครัวได้มากยิ่งๆ ขึ้นไป
ตามแต่เดือนที่หมุนเวียน ดังต่อไปนี้ |
|
เดือน 5 และ เดือน 6
เจ้ากรุงพาลี ราชบิดาขององค์พระภูมิ ท่านแปลงเพศเป็นยักษ์
มีความดุร้ายเป็นที่สุด การจัดเครื่องสักการะในเดือนนี้
ต้องมี กุ้งพล่า ปลายำ เนื้อย่าง (
จะเป็นเนื้อหมูหรืออะไรก็ได้ ) แต่ให้เป็นของสด ของคาว
ก็จะเป็นที่พอใจของท่าน หากตั้งศาลในเดือนดังกล่าวนี้
ก็ให้สูงเท่าปาก ใช้ผ้าแดงปู มีเหล้ายาสารพัด เทียนขาว
9 เล่ม และเครื่องสังเวยอื่นๆ
เดือน 7 และ เดือน 8 เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นพราหมณ์สวยสดงดงาม
งดเนื้อสัตว์และของคาวสารพัด ใช้ผ้าขาวปู
เครื่องสังเวยมังสวิรัติ
เดือน 9 และ เดือน 10
เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นราชสีห์
ชอบของสด ของคาว ใช้ผ้าเหลืองปูศาล
จะเกิดลาภผลเหลือประมาณ ตามความต้องการทุกอย่าง
เดือน 11 และ เดือน 12
เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นช้าง
ต้องมีหญ้าแพรก หญ้าปล้อง อย่างละ7 ใช้ผ้าดำปูศาล
จะเกิดลาภผลสวัสดี ห้ามใช้ของคาว
เดือนอ้าย และ เดือนยี่
เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นนาคราช
ให้ตั้งศาลสูงแค่สะดือ
จะมีเกียรติยศและชื่อเสียงเลื่องลือไกล
ของคาวทั้งหลายให้นำมาสักการะ
เดือน3 และ เดือน 4
เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นครุฑ
ของสดของคาว กุ้งพล่า ปลายำ เป็นสิ่งบันดาลโชคลาภ
โทษภัยจะหนีห่าง มีแต่ความสุขสำราญ
ในการจัดเครื่องสักการะนี้
จะต้องทำให้ถูกต้องตามาประสงค์ จึงจะเกิดลาภผล
ดลช่วยให้พ้นภัยพิบัติทั้งหลายทั้งปวง
มีแต่โชคลาภนานาประการ |
|
คาถาบูชาพระภูมิทุกวัน
*** ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ
ภิงสะนัง ยัมหิ เจวานุยุญ ชันโต รัตตินเทวะ
มะตันทิโต สุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปังกิญจิ นะ
ปัสสะติ เอวะมาทิ คุณูปเปตัง ปะริตตันตัม ภะณามะเห ***
หากตั้งศาลพระภูมิ
ไว้ในเขตบ้าน จงใช้คาถานี้บูชาทุกๆ
วัน จะเกิดสิริมงคลและบันดาลโชคลาภ
ลาภผลนานานัปการ ถ้าหากสวดบูชาให้ครบตามกำลังวันได้ก็ดียิ่งๆ
ขึ้นไป คือ
|
วันอาทิตย์ |
สวด 6 จบ |
|
วันจันทร์ |
สวด 15 จบ |
|
วันอังคาร |
สวด 8 จบ |
|
วันพุธ |
สวด 17 จบ |
|
วันพฤหัสบดี |
สวด 19 จบ |
|
วันศุกร์ |
สวด 21 จบ |
|
วันเสาร์ |
สวด 10 จบ |
หากมีเวลาน้อยก็สวดวันละ 1 จบ หรือครั้งละ 1
จบก็ได้ โดยสม่ำเสมอกันทุกๆ วัน อย่าให้ขาด
พร้อมทั้งดอกไม้ หรือพวงมาลัยสด ธูปเทียน
จุดบูชาเป็นประจำ ก็จะบังเกิดผลดีตลอดไป |
|
ข้อมูลอื่นๆ
เกี่ยวกับการตั้งศาลพระภูมิ
ความสูงของศาล
ขึ้นอยู่กับ ตัวเจ้าของบ้าน
โดยให้ระดับฐานหรือชานชาลาพระภูมิอยู่เหนือระดับปาก
(บางตำราว่าอยู่เหนือคิ้วพอดี ) ของผู้เป็นเจ้าของบ้าน
ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนเจ้าบ้าน ก็ควรจะตั้งศาลพระภูมิขึ้นใหม่
การใช้ศาลพระภูมิร่วมกัน กรณีที่เป็นหมู่บ้าน,ชุมชนหรือตึกแถว
ให้ยึดเอาความสูงจาก เจ้าของผู้สร้างเริ่มแรก
หรือหัวหน้าชุมชนนั้นๆ
โดยให้เป็นตัวแทนเพื่อมาทำการยกศาลพระภูมิขึ้นเพื่อบอกกล่าวและสักการะ
ขอให้ท่านดูแลปกปักษ์รักษาให้คุณ ให้โชคลาภ
ความเจริญรุ่งเรืองแก่ผู้อยู่อาศัยทุกคน
การปักเสาตั้งศาล
ต้องเตรียมหลุมให้เสร็จก่อนเริ่มพิธี ( ค่อยมีพิธีในวันรุ่งขึ้น )
โดยต้องเตรียมของดังนี้ พานครู 1 พาน ใช้สำหรับใส่ข้าว ธูป
เทียนขาว ดอกไม้หรือพวงมาลัยสด เหล้า บุหรี่ ผ้าขาว เงิน 6
สลึงหรือ 99 บาท
รายการของมงคลใส่หลุม (ปัจจุบันที่นิยมใช้)
รายการมงคล
|
จำนวน
|
1
|
เหรียญเงิน
|
9 เหรียญ
|
2
|
เหรียญทอง (เหรียญสลึงหรือ 50 สตางค์ก็ได้)
|
9 เหรียญ
|
3
|
ใบเงิน
|
9 ใบ
|
4
|
ใบทอง |
9 ใบ
|
5
|
ใบนาค |
9 ใบ
|
6
|
ใบรัก |
9 ใบ
|
7
|
ใบมะยม |
9 ใบ
|
8
|
ใบนางกวัก |
9 ใบ
|
9
|
ใบนางคุ้ม |
9 ใบ
|
10
|
ใบกาหลง |
9 ใบ
|
11
|
ดอกบานไม่รู้โรย |
9 ดอก
|
12
|
ดอกพุทธรักษา |
9 ดอก
|
13
|
ไม้มงคล |
9 ชนิด
|
14
|
แผ่น เงิน,ทอง,นาค |
1 ชุด
|
15
|
พลอยนพเก้า |
1 ชุด
|
การกลบหลุมนั้นให้ใช้มือกด ห้ามใช้เท้าโดยเด็ดขาด
ผู้ประกอบพิธีกรรมการตั้งศาลพระภูมิ
ควรจะเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรมมีศีลธรรม ทำบุญทำทานประจำ
มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม
จะทำให้การตั้งศาลพระภูมิบังเกิดผลดี
มีความเจริญรุ่งเรืองแก่เจ้าของบ้าน
หรือเจ้าบ้านจะเป็นผู้กระทำพิธีกรรมก็ได้
โดยศึกษาขั้นตอนพิธีกรรมต่างๆ และให้ถือศีลกินเจ 7 วัน ( 3,5,7
วันก็ได้ หรือมากกว่านี้ก็ได้ )
ส่วนประกอบสำคัญของศาลพระภูมิ
จะเหว็ดศาลพระภูมิ จะเป็นรูปพระภูมิอยู่ในแผ่นคล้ายแผ่นเสมา
มือขวาถือพระขรรค์ มือซ้ายถือถุงเงินหรือสมุด(หนังสือ)
และการปลุกเสกจะเหว็ดให้เป็นองค์พระภูมิมีดังนี้ บรรจุธาตุทั้ง 6
คือ บรรจุพระพุทธคุณ,บรรจุพระธรรมคุณ,บรรจุพระสังฆคุณ
ตลอดเทวคุณและวิญญาณธาตุเข้าไปในจะเหว็ดจากที่เรียกว่า
จะเหว็ดเมื่อปลุกเสกแล้วก็จะเรียกว่า "พระภูมิ"
บริวารของพระภูมิจะมี
-
1. ตุ๊กตาชาย-หญิง อย่างละ 1 คู่
-
2.
ตุ๊กตาช้าง-ม้า อย่างละ 1 คู่
-
3.
ละครยก 2 โรง
เครื่องประดับตกแต่ง จะประกอบด้วย
เครื่องประดับตกแต่ง
|
จำนวน
|
1
|
แจกัน
|
1 คู่
|
2
|
|
1 คู่
|
3
|
กระถางธูป
|
1 ใบ
|
4
|
ผ้าผูกจะเหว็ด |
1 ผืน
|
5
|
ผ้าพันศาล (ผ้าแพร 3 สี คือ สีเขียว,สีเหลืองและสีแดง) |
1 ชุด
|
6
|
ฉัตรเงิน-ทอง |
2 คู่
|
7
|
ด้ายสายสิญจน์ |
1 ม้วน
|
8
|
ผ้าขาว |
1 ผืน
|
9
|
ทองคำเปลว |
-
|
10
|
แป้งเจิม |
1 ถ้วย
|
11
|
ดอกบัว |
9 ดอก
|
12
|
ดอกไม้ ี(มาลัย 7 สี ) |
7 ส
|
เครื่องสังเวยสำหรับตั้งศาล
จะประกอบด้วยอาหารคาวหวานดังนี้
เครื่องสังเวยสำหรับตั้งศาล (คาว หวาน)
|
จำนวน
|
1
|
หัวหมู
|
1 หัว
|
2
|
|
2 จาน
|
3
|
ไก่ต้ม
|
1 ตัว
|
4
|
ขนมถั่วงา |
2 จาน
|
5
|
เป็ด |
1 ตัว
|
6
|
ขนมถ้วยฟู |
2 จาน
|
7
|
ปลานึ่ง |
1 ตัว
|
8
|
ขนมหูช้าง |
2 จาน
|
9
|
ปู หรือ กุ้ง |
1 จาน
|
10
|
เผือก-มันต้ม |
2 จาน
|
11
|
บายศรีปากชามยอดไข่ |
1 คู่
|
12
|
ฟักทอง |
2 ผล
|
13
|
น้ำจิ้ม |
2 ถ้วย
|
14
|
แตงไทย |
2 ผล
|
15
|
ข้าวสวย |
2 ถ้วย
|
16
|
ขนุน |
2 จาน
|
17
|
เหล้า |
1 ขวด
|
18
|
สับปะรด |
2 ผล
|
19
|
น้ำชา |
2 ถ้วย
|
20
|
กล้วย |
2 หวี
|
21
|
น้ำสะอาด |
2 แก้ว
|
22
|
ผลไม้ 5 ชนิด |
2 จาน
|
23
|
มะพร้าวอ่อน |
1 คู่
|
24
|
พานหมาก พลู บุหรี่ |
1 คู่
|
25
|
ขนมต้มแดง |
2 จาน
|
** ถ้าขนาดบ้านและศาลพระภูมิเล็ก ก็สามารถใช้สับปะรดเพียง 1
ผลได้แต่จัดแบ่งเป็น 2 จาน *
เครื่องสังเวยสำหรับตั้งศาล ( มังสวิรัติ)
เครื่องสังเวยสำหรับตั้งศาล (มังสวิรัติ)
|
จำนวน
|
1
|
มะพร้าวอ่อน |
1 คู่
|
2
|
ขนมถ้วยฟู |
2 จาน
|
3
|
พานหมาก พลู บุหรี่ |
1 คู่
|
4
|
ถั่วคั่ว |
2 จาน
|
5
|
ฟักทอง |
2 ผล
|
6
|
น้ำสะอาด |
2 แก้ว
|
7
|
งาคั่ว |
2 จาน
|
8
|
แตงไทย |
2 ผล
|
9
|
ข้าวสวย |
2 ถ้วย
|
10
|
เผือก-มันต้ม |
2 จาน
|
11
|
ขนุน |
2 จาน
|
12
|
น้ำชา |
2 ถ้วย
|
13
|
ขนมต้มแดง |
2 จาน
|
14
|
สับปะรด |
2 ผล
|
15
|
นม |
2 ถ้วย
|
16
|
ขนมต้มขาว |
2 จาน
|
17
|
สับปะรด |
2 ผล
|
18
|
เนย |
2 ถ้วย
|
19
|
ขนมถั่วงา |
2 จาน
|
20
|
ผลไม้ 5 ชนิด |
2 จาน
|
ผลไม้ที่ห้ามนำถวาย
มังคุด
|
มะเฟือง
|
น้อยหน่า
|
ลูกจาก
|
มะตูม
|
ละมุด
|
มะไฟ
|
กระท้อน
|
ลูกพลับ
|
พุทรา
|
ระกำ
|
น้อยโหน่ง
|
ลูกท้อ
|
มะขวิด
|
ลางสาด
|
คนไทยโบราณมีความเชื่อว่าผลไม้ทั้ง 15 ชนิดนี้เป็นอัปมงคล
ไม่ควรนำมาถวายเป็นเครื่องสังเวยหน้าศาลพระภูมิเป็นอันขาด
|