วิธีการสะเดาะเคราะห์หรือการแก้ดวง
การแก้ดวงหรือการสะเดาะเคราะห์ให้ถูกวิธี เพื่อให้เคราะห์ร้ายได้เบาบางบรรเทาลงหรือหายไป ด้วยวิธีการเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด | ||
๑. ปล่อยสัตว์ที่กำลังตกอยู่ในความลำบากถึงชีวิต (ชะตาขาด) เช่น ปล่อยนก ปล่อยปลา ปล่อยเต่า ปล่อยกบ ฯลฯ (ควรซื้อที่ตลาดหรือที่กำลังจะโดนฆ่า) | ||
๒. ทำบุญให้ทานให้ชีวิต ให้ทรัพย์ ให้เครื่องอุปโภคบริโภค ให้สิ่งที่เขาขาดแคลน | ||
๓. ทำบุญตามหลักและพิธีทางศาสนาให้ทำบุญอย่างรู้หลักการรู้ถึงความพอดี ไม่ทำบุญเพื่อเอาหน้าหรือทำจนตัวเองเดือดร้อน | ||
๔. รักษาศีล (๕) ไม่เบียดเบียนใคร เพราะจะเป็นเกราะช่วยคุ้มครองคุณเอง | ||
คำแนะนำเพิ่มเติม: | ||
หลังจากทำบุญทุกครั้ง ควรแผ่เมตตาหรือกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญให้เจ้ากรรมนายเวรและสรรพสัตว์ด้วย | ||
วิธีสะเดาะเคราะห์ให้ได้ผล มนุษย์ทุกรูปทุกนาม ยากที่จะหลีกเลี่ยงจาก เกิด แก่ เจ็บ ตาย และความทุกข์ต่าง ๆ บางคนเที่ยวไปบนเจ้า หรือให้ทำนายทายทัก หวังจะได้สะเดาะเคราะห์ภัย แต่ก็มักจะไม่ได้ดังใจหวัง อันนี้เป็นสาเหตุอะไรเล่า ? เป็นเพราะมูลเหตุแห่งเคราะห์ภัย (อกุศลกรรมยังมีอยู่) ยังไม่ได้ถูกกำจัดนั่นเอง บางคนแม้จะได้บำเพ็ญธรรม แต่ก็บำเพ็ญไม่จริงจังบางคนก็สร้างกรรมใหม่บาปใหม่ขึ้นอีก ก็เสมือนถังที่มีรูรั่วน้ำก็ย่อมจะไหลออกหมด แม้จะได้สร้างบุญกุศลไว้มาก ก็ยังคงไม่อาจสะเดาะเคราะห์ภัยอยู่นั่นเอง ดังนั้นจึงขอให้ชาวโลก เมื่อเกิดความทุกข์เกี่ยวกับความเจ็บป่วย ก็จงสำรวจตรวจตราการพูดและการกระทำของตน ว่ามีข้อบกพร่องหรือไม่ (โดยเฉพาะศีล ๕ ข้อว่าตัวเองรักษาได้ทั้งหมดหรือไม่) หากมีบกพร่อง ก็จงรีบสารภาพบาปอย่างจริงใจ ต่อหน้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยเร็ว อธิษฐานในใจหรือเปล่งวาจาว่า "นะปุเนวัง กะริสสามิ ข้าพเจ้าจะไม่กระทำอย่างนี้อีก" (ต้องทำด้วยใจจริงๆ) คิดว่าเราจะไม่ทำสิ่งไม่ดีอย่างนี้อีก ตั้งแต่นี้ต่อไปจะทำแต่กรรมดี..... แล้วทำตามคำแนะนำ ๔ ข้อข้างบน หากทำได้ ทุกอย่างก็จะค่อย ๆ สมความปรารถนาความโชคร้ายจักกลับกลายเป็นโชคดี มิเช่นนั้นแม้จะมีเทพยดาเสด็จลงมาก็ยากที่จะช่วยคนที่ดวงชะตากำลังตก ชีวิตใคร ๆ ก็รัก อย่าได้คิดทำลายเด็ดขาด แต่ผู้คนส่วนใหญ่ มักจะหลงระเริง ประมาทอยู่ บาปกรรมจึงยากที่จะสลายง่าย กรรมเก่ายังไม่ทันสลาย ก็สร้างกรรมใหม่เพิ่ม จึงต้องเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในวังวนแห่งวัฏฏะไม่รู้จบ |
||
|
| ||
| ||
เว็บมาสเตอร์/ผู้ดูแลเว็บไซต์/ภารโรงเว็บ : สุขี
สิงห์บรบือ (มหาแซม) | ||
|
|
สงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
www.mahamodo.com ห้ามลอกเลียนไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดของเว็บไซต์นี้ ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ |
:::: |
|