ไม้มงคลที่ใช้ในพิธีวางศิลาฤกษ์นี้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน
ก่อนทำการก่อสร้างนิยมทำพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยใช้ไม้มงคล ๙ ชนิด ปักกับพื้นดิน
ไม้ทั้ง ๙ ชนิด มีชื่อเป็นมงคลนาม ได้แก่ ไม้ราชพฤกษ์ ไม้ขนุน ไม้ชัยพฤกษ์
ไม้ทองหลาง ไม้ไผ่สีสุก ไม้ทรงบาดาล ไม้สัก ไม้พะยูง และไม้กันเกรา
อ่านรายละเอียดด้านล่างครับ
|
|
|
๑.
ไม้ราชพฤกษ์ หมายถึง ความเป็นใหญ่และมีอำนาจวาสนา
ข้อมูลทางวิชาการ
ไม้ต้น
ผลัดใบ สูง 8 - 15 เมตร
นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิดเอเชียแถบร้อน
ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไป
ออกดอก กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ทิ้งใบก่อนออกดอก
ขยายพันธุ์
โดยเมล็ด วิธีการเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ
นำเมล็ดมาตัดหรือทำให้เกิด บาดแผลที่ปลายเมล็ดแล้ว แช่น้ำไว้ 12 ชั่วโมง หรือแช่กรดซัลฟูริคเข้มข้น
1.84 ประมาณ 15 นาที แล้วล้างน้ำให้สะอาด แช่น้ำทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง
วิธีนี้สะดวกแต่อันตราย และอีกวิธีหนึ่งคือ ต้มน้ำให้เดือดแล้วเทลงในเมล็ด
ทิ้งไว้ข้ามคืน ทั้ง 2 วิธีนี้จะทำ ให้เมล็ดดูดน้ำเข้าไปและพร้อมที่จะงอก
วิธีเพาะ
อาจหยอดลงในถุงดินที่เตรียมไว้หรือจะเพาะในแปลงเพาะแล้วย้ายชำกล้าในภายหลัง
ควรให้เมล็ดอยู่ใต้ผิวดิน 3-5 มิลลิเมตร รดน้ำให้ชุ่ม เมล็ดจะงอกภายใน 1-2 สัปดาห์
ประโยชน์ ราก
ฝนทาแก้กลาก เป็นยาระบาย รากและแก่นเป็นยาขับพยาธิ
เปลือกและไม้ใช้ฟอกหนัง และใช้บดทาผื่นตามร่างกาย เนื้อไม้สีแดงแกมเหลืองทนทานใช้ทำเสา ล้อเกวียน ใบต้มกินเป็นยาระบาย ดอกแก้ไข้
ฝักเนื้อในรสหวาน เป็นยาระบาย ช่วยบรรเทาการแน่นหน้าอก แก้ขัดข้อ |
|
|
๒. ไม้ขนุน หมายถึง
หนุนให้ดีขึ้นร่ำรวยขึ้น ทำอะไรจะมีผู้ให้การเกื้อหนุน
ข้อมูลทางวิชาการ
ไม้ต้น ขนาดใหญ่ สูง 15 - 30 เมตร
ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล
นิเวศวิทยา
ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียเป็นพืชเศรษฐกิจเมืองร้อนที่ให้ผลมีขนาดใหญ่ที่สุดสามารถ
บริโภคทั้งผลดิบและผลสุก นอกจากนี้ยังนำไปแปรรูปเป็นอาหารชนิดต่างๆ
มีปลูกทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ออกดอก จะออกปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม และเมษายน - พฤษภาคมขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ด ติดตา และทาบกิ่ง
ประโยชน์ ผลอ่อน
ใช้ปรุงอาหาร ผลสุกเยื่อหุ้มเมล็ดมีรสหวาน เมล็ดปรุงอาหาร เนื้อไม้
ใช้ทำพื้นเรือนและสิ่งก่อสร้าง ครก สากกระเดื่อง หวี โทน รำมะนา ระนาด
รากและแก่น ให้สีเหลือง ถึงเหลืองอมน้ำตาล ใช้ย้อมผ้าและแพรไหม
รากนำมาปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้ไข้ ใบ เผาไฟกับซังข้าวโพดให้ดำเป็นถ่าน
แล้วใส่รวมกับก้นกะลามะพร้าวขูด โรยรักษาบาดแผล |
|
|
๓. ไม้ชัยพฤกษ์ หมายถึง การมีโชคชัย ชัยชนะ
ชนะศัตรู ชนะอุปสรรคต่างๆ
ข้อมูลทางวิชาการ
ไม้ต้น
สูงถึง 15 เมตร ลำต้นสีน้ำตาล
ทรงพุ่มใบกลมคล้ายร่ม เมื่อต้นยังอ่อนมีหนาม ใบประกอบรูปขนนกปลายคู่ เรียงสลับ
มีใบย่อย 5 - 15 คู่ แผ่นใบรูปไข่แกมรูปรี หรือรูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 1.5 - 2.5
เซนติเมตร ยาว 2.5 - 5 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบกลม ผิวใบด้านล่างมีขนละเอียด
ดอก
เริ่มบานสีชมพู แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม
ใกล้โรยดอกสีขาว ออกเป็นช่อตามกิ่งยาว 5 - 16 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีแดง
หรือแดงปนน้ำตาล ดอกเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5 เซนติเมตร ผลเป็นฝักกลมสีดำ ยาว 20 - 60
เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 - 1.5 เซนติเมตร เมื่อแก่ไม่แตกมีเมล็ดจำนวนมาก
นิเวศวิทยา
ถิ่นกำเนิดอินโดนีเซีย
ออกดอก กุมภาพันธ์ - เมษายน
ขยายพันธุ์ โดยใช้เมล็ด
วิธีเพาะเช่นเดียวกับราชพฤกษ์
ประโยชน์ เนื้อในฝักเป็นยาระบายอ่อน ๆ
ปลูกประดับ ดอกสวยงาม |
|
|
๔. ไม้ทองหลาง หมายถึง การมีทรัพย์สินเงิน
มีเงินทองใช้ไม่ขัดสน
ข้อมูลทางวิชาการ
ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 5 - 10 เมตร
ตามกิ่งต้นอ่อนมีหนาม เรือนยอดเป็นพุ่มกลม โปร่ง
นิเวศวิทยา
พบทั่วไปในย่านเอเชียเขตร้อนและอบอุ่น
ออกดอก มกราคม - กุมภาพันธุ์
ขยายพันธุ์ โดยเมล็ดและปักชำ
ประโยชน์
ปลูกเป็นไม้ประดับ |
|
|
๕. ไผ่สีสุก หมายถึง มีความสุขกายสบายใจ ไร้ทุกข์โศกโรคภัย
ข้อมูลทางวิชาการ
เป็นไม้ไผ่ประเภทมีหนาม ความยาวลำต้นสูง 10 - 18 เมตร
เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 - 12 เซนติเมตร แข็ง ผิวเรียบเป็นมัน ข้อไม่พองออกมา
กิ่งมากแตกตั้งฉากกับลำต้น หนามโค้งออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 อัน อันกลางยาวกว่าเพื่อน
ลำมีรูเล็กเนื้อหนา ใบมีจำนวน 5 - 6 ใบ ที่ปลายกิ่ง ปลายใบเรียวแหลม
โคนใบเป็นรูปลิ่มกว้าง ๆ หรือตัดตรง แผ่นใบกว้าง 0.8 - 2 เซนติเมตร ยาว 10 - 20
เซนติเมตร ใต้ใบมีสีเขียวอมเหลือง เส้นลายใบมี 5 - 9 คู่ ก้านใบสั้น ขอบใบสาก
คลีบใบเล็กมีขน
นิเวศวิทยา เชื่อกันว่าเป็นไม้ดั้งเดิมในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก
หรือหมู่เกาะแปซิฟิคตอนใต้ ในประเทศไทย มักจะขึ้นอยู่ตามที่ราบลุ่มริมห้วย แม่น้ำ
และมักปลูกรอบ ๆ บ้านในชนบท
ขยายพันธุ์ ปักชำ
ใช้ท่อนไม้ไผ่มาตัดทอนเป็นท่อน ๆ ให้ติดปล้อง 1 ปล้อง (ข้อตา) นำมาปักไว้ในวัสดุชำ
เอียงประมาณ 45 องศา เรียงเป็นแถวเป็นแนวเดียวกันเพื่อสะดวกในการดูแลรักษา
เติมน้ำลงในกระบอกไม้ไผ่ให้เต็ม ประมาณ 4 สัปดาห์ หน่อจะแตกออกจากตาไม้ไผ่
และรากจะงอกออกจากปุ่มใต้ตา หรือถ้าตัดทอนท่อนไม้ไผ่ให้ตัดข้อตา 2 ข้อ
แล้วเจาะตรงกลางระหว่างข้อตา สำหรับเติมน้ำลงไปในปล้อง
นำไปวางนอนในวัสดุชำแนวราบก็ได้เช่นกัน
ประโยชน์
สมัยก่อนมักปลูกไว้รอบบ้านเป็นรั้วกันขโมย กันลม
หน่อเมื่ออยู่ใต้ดินทำอาหารได้มีรสดี เมื่อโผล่พ้นดินประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร
มักเอาไปทำหน่อไม้ดอง จะให้รสเปรี้ยว สีขาว และเก็บได้นาน
โดยไม่เปื่อยเหมือนหน่อไม้ชนิดอื่น เนื้อไม้หนาแข็งแรง ใช้สร้างบ้านในชนบทได้ทนทาน
ทำเครื่องจักสาน เครื่องใช้ในการประมง ใช้ในการทำนั่งร้านก่อสร้าง
ส่วนโคนนิยมใช้ทำไม้คานหาบหามและใช้ทำกระดาษให้เนื้อเยื่อสูง |
|
|
๖. ไม้ทรงบาดาล หมายถึง ความมั่นคง
หรือทำให้บ้านมั่นคงแข็งแรง
ข้อมูลทางวิชาการ
ไม้พุ่ม
สูง 3 - 5 เมตร ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 4 - 6
คู่ รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ขนาดกว้าง 1 - 2 เซนติเมตร ยาว 2.5 - 4 เซนติเมตร
ปลายใบแหลม โคนใบมน ดอก สีเหลืองออกตามซอกใบ และปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ
เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 - 3 เซนติเมตร ผล
เป็นฝักแบน กว้าง 1 - 1.5 เซนติเมตร ยาว 7 - 20 เซนติเมตร
นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิดเอเชียเขตร้อนและจาไมก้า ออกดอก
ตลอดปี ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด วิธีเตรียมเมล็ด
ก่อนเพาะ นำเมล็ดมาแช่น้ำร้อน 80 - 90 องศาเซลเซียส แล้วทิ้งไว้ให้เย็น 16
ชั่วโมง
วิธีเพาะเมล็ด เช่นเดียวกับราชพฤกษ์
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ |
|
|
๗. ไม้สัก หมายถึง ความมีศักดิ์ศรี ความมีเกียรติ
อำนาจบารมี คนเคารพนับถือและยำเกรง
ข้อมูลทางวิชาการ
ไม้ต้น ขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน
ลำต้นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ
เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบ
หรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น
นิเวศวิทยา ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ
บางส่วนในภาคกลางและภาคตะวันตก มีอยู่บ้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ออกดอก ออกดอกและเป็นผลเดือน มิถุนายน - ตุลาคม
ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด ปักชำ
ประโยชน์ เนื้อไม้มีลายสวยงามแข็งแรงทนทาน เลื่อย ผ่า ไสกบตบแต่ง
และชักเงาได้ง่าย ใช้ทำเครื่องเรือนและในการก่อสร้างบ้านเรือน ปลวก มอด
ไม่ชอบทำลายเพระมีสารพวกเตคโตคริโนน
|
|
|
๘. ไม้พะยูง หมายถึง การพยุงฐานะให้ดีขึ้น
ข้อมูลทางวิชาการ
ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15 - 25 เมตร
เปลือกสีเทาเรียบเรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่
นิเวศวิทยา ขึ้นในป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณชื้น ทั่ว ๆ ไป
ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
ออกดอก พฤษภาคม - กรกฎาคม ฝักแก่ กรกฎาคม - กันยายน
ขยายพันธุ์ โดยนำเมล็ดแช่ในน้ำเย็น 24 ชั่วโมง แล้วเพาะในกะบะเพาะ
โดยหว่านให้กระจายทั้งกะบะเพาะแล้วโรยทรายกลบบาง ๆ รดน้ำให้ชุ่ม เมล็ดจะงอกภายใน 7
วัน เมื่อกล้าไม้อายุ 10-14 วัน ความสูงประมาณ 1 นิ้ว มีใบเลี้ยง 1 คู่
สามารถย้ายชำในถุงหรือภาชนะที่เตรียมไว้ได้
ประโยชน์ เนื้อไม้สีแดงอมม่วง ถึงแดงเลือดหมูแก เนื้อละเอียด แข็งแรงทนทาน
ขัดและชักเงาได้ดี ใช้ทำเครื่องเรือน เกวียน เครื่องกลึงแกะสลัก ทำเครื่องดนตรี
เช่น ซอ ขลุ่ย ลูกระนาด |
|
|
๙.
ไม้กันเกรา หมายถึง ป้องกันภัยอันตรายต่างๆ หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ตำเสา
ซึ่งอาจหมายถึงทำให้เสาเรือนมั่นคง
ข้อมูลทางวิชาการ
ไม้ต้น
ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม
แตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ
นิเวศวิทยา
ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณชื้น และตามที่ต่ำ ที่ชื้นแฉะใกล้น้ำ
ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ออกดอก เมษายน - มิถุนายน เป็นผล มิถุนายน - กรกฎาคม
ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด
ประโยชน์ เนื้อไม้ สีเหลืองอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน
ใช้ในการก่อสร้าง นิยมใช้ทำเสาเรือน แก่นมีรสฝาดใช้เข้ายาบำรุงธาตุ แน่นหน้าอก
เปลือกใช้บำรุงโลหิต ผิวหนังพุพอง ปลูกเป็นไม้ประดับ |